จากตอนที่แล้วทำให้ผมต้องเขียนตอนที่ 2 นี้ขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ เราเคยคิดกับบ้างหรือไม่ว่า การเจ็บป่วยเราเอง ไม่ได้มีผลกับตัวเราเองเท่านั้นยังมีผลกระทบกับคนรอบข้าง และ ประเทศชาติของเราอีกด้วย
หลายเราคงนึกเถียงผมอยู่ในใจ แต่ของให้อ่านต่อไปก่อนนะครับ แล้วไม่เชื่ออีกก็ไม่ว่ากัน
ผมจะเริ่มต้นด้วยการสมมติว่า เราเองอายุในช่วงวัยทำงาน มีรายได้ ประมาณ 12,000 บาท ถ้าผมป่วยเข้าโรงพยาบาล(เอกชน) อยู่ 5 วัน ผมต้องเสียเงิน 36,000 บาท (เท่าที่ทราบค่าห้องพักพิเศษคืนละ 4,000 บาทต่อ 1 วัน) เท่านี้ก็จะเห็นว่า แค่นี้ ก็แย่แล้ว ออกมาจากโรงพยาบาลแล้วผมจะเอาอะไรกิน ถ้าไม่มีคนมาช่วยเอาเงินให้หรือผมเองไม่ดีเงินเก็บมาเลย
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆอันหนึ่งที่นำมาให้พิจารณา แต่ลองคิดดูให้กว้างขึ้นไปอีกนะครับ ว่า ถ้าในประเทศของเรามีคนที่เจ็บป่วย 100,000 ราย เราเองจะสูญเสียเงินไปในเรื่องของการรักษาตัวไปมากเพียงใด
ถ้าคนเป็นคนที่มีรายได้น้อยหรือคนไม่ได้หารายได้ได้เอง เช่นคนแก่และเด็ก จะเป็นอย่างไร
แน่นอนที่สุด เราซึ่งเป็นลูกเป็นหลานหรือเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ไปก่อน
หรือถ้าไม่มีเงินเราก็ต้องกู้ยืมเงิน หรือ นำทรัพย์สินที่ไม่ไปขายหรือจำนองไว้เพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษา
แต่ก็คงมีคนนึกต่อว่า ทำไมไม่ส่งโรงพยาบาลของรัฐใช้สิทธิต่างๆที่รัฐจัดให้ก็ได้
คำตอบก็คือ ถ้ามาถึงจุดนี้แล้วนั่นหมายถึงคุณไม่สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ ต้องยกให้เป็นภาระของคนอื่น ถึงแม้ว่าคุณจะจ่ายเงินน้อยลงก็จริง แต่ถ้าต้นทุนการรักษาจริงก็ไม่ได้ถูกลงไปเลยนะครับ เพราะรัฐต้องเอาเงินภาษีหรือเงินส่วนอื่นมาจ่ายให้
มาถึงตรงนี้คงมองเห็นภาพ(ความสูญเสีย) ที่เกิดแล้วนะครับ ว่าความเจ็บป่วยของเรามีผลกระทบแค่ไหน
ลองมาสรุปกันอีกทีก็ได้
เกี่ยวกับตัวเราเอง
* ทำให้เราต้องเสียรายได้เพราะตอนเราป่วยส่วนใหญ่ต้องหยุดทำงานไม่สามารถหารายได้
* ทำให้เราสียเวลางาน สำหรับหลายๆคนการต้องหยุดงานบ่อยๆทำงานสิทธิภาพของการทำงานลดลง
* ทำให้เราเสียเงินไปกับการรักษา ถ้าไม่เราไม่เจ็บป่วย เราก็สามารถนำเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ด้านอื่นๆได้
* สูญเสียความมั่นใจและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ในกรณีที่หลายคนเป็นโรคจำเป็นตัว ต้องเข้าๆออกๆ บ้านกับโรงพยาบาลบ่อยๆ
เกี่ยวกับคนรอบข้าง
อย่างน้อยที่สุดทำให้เสียเวลางานที่ต้องมาดูแลเรา บางครั้งก็ต้องใช้เหลือด้านค่ารักษา
เกี่ยวกับสังคม
* การเจ็บป่วยของพวกเราเป็นตัวสะท้อนในด้านการในชีวิตของคนในสังคมที่ไม่ดี ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการการดูแลรักษาสุขภาพ สะท้อนสภาพแวดล้อมในการเป็นอยู่ของคนในสังคม
* การรักษาแต่ละครั้งทำให้เกิดขยะที่เรียกว่า ขยะพิษมากมาย ทำให้เกิดมลภาวะ ซึ่งเป็นอันตรายกับคนในสังคม
เกี่ยวกับรัฐบาล
* รัฐบาลต้องเสียเงินมาใช้จ่ายสำหรับการซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยในแต่ละปีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้งบประมาณในการพัฒนาในด้านอื่นๆลดลงทำให้ต้องสูญเสียโอกาสในการแข่งขันกับประเทศอื่น
เพียงนี้คงพอทำให้หลายๆคนพอให้ถึงความเป็นจริงที่เกิดนะครับว่า เวลาเกิดสิ่งที่ไม่ดีขึ้นมาครั้งหนึ่งความเสียหายความเดือดร้อน มันไม่ใช่แค่กับเราคนเดียวแต่กับคนอื่นก็ได้รับผลกระทบแบบไม่รู้ตัวไปด้วย ดังนั้นการดูแลตัวเองไม่ให้เราเจ็บป่วย
ขอให้พวกเราช่วยกันท่องจำกันไว้ว่า เราไม่ป่วยประเทศชาติของเราก็ไม่ป่วยด้วย เราแข็งแรงประเทศชาติก็พัฒนา
แล้วอะไรทำให้เราป่วย
ผมไม่ใช่หมอแต่จะขอตอบคำถามนี้ว่า สาเหตุของการเจ็บป่วยของเราเกิดขึ้นจาก
1. กรรมเก่าของเราเอง
2. การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องในวัยเด็ก
3. การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องหรือมีความประมาทในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการกิน
4. การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ
5. ความเครียด
6. การอยู่สภาพแวดล้อมที่เสี่ยงกับการเจ็บป่วย
7. เชื้อโรคที่มีมากขึ้นทุกวัน
ถ้าเป็นแล้วต้องทำอย่างไร
วิธีการเมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบายด้วยโรคต่างๆ ตรงนี้ผมขอใช้การทั่วไปนะครับ
1. ทำใจและตั้งสติให้ดี (ผมว่าเป็นสิ่งแรกที่เราทำได้และต้องทำ)
2. รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา หายามาทาน พร้อมกับถามสาเหตุและการดูแลตัวเอง
3. ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์บอก ทานยาตรงเวลา และไปพบแพทย์ตามกำหนด
4. ดูแลเรื่องความสะอาดของที่พักอาศัย
5. ระวังเรื่องของอาหารการกิน
ตามที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วครับว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
ขอให้ที่คนรักษาสุขภาพให้แข็งแรงครับ
* * * * * *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น