วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

คณิตศาสตร์กับสุขภาพ ตอนที่ 1

หลายวันก่อนมีข่าวที่พูดเกี่ยวกับเรื่องการใช้ค่าดัชนีมวลกาย
มาใช้ในหน่วยงาน ครูเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความสำคัญ
เลยเป็นที่มาของบทความในวันี้

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI)
เป็นดัชนีอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนสูง และน้ำหนักตัว เพื่อประเมินภาวะอ้วนผอมในบุคคลอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มาเป็นตัวช่วยบ่งชี้สภาวะร่างกายของแต่ละคน ตัวดัชนีจะช่วยบ่งบอกให้ทราบว่าเรามีสภาพที่อ้วนมากเกินไปหรือไม่ (ค่าดัชนีสูง ยิ่งสูงมากก็ยิ่งอ้วนมาก)

วิธีการหาค่าดัชนีมวลกาย เรามีสูตรในการหา ค่าดัชนีมวลกาย ดังนี้

หรือถ้าดูสูตรแล้วไม่เข้าใจ ก็ให้คิดตามนี้
1. หลังจากที่ทราบความสูง(เมตร) และน้ำหนัก(กิโลกรัม)
    แล้ว เช่น 1.66 เมตร หนัก 54 กิโลกรัม
2. นำความสูงที่มาคูณกันเอง จะได้ 1.66 × 1.66 = 2.7556 หรือ 2.76
3. นำค่าที่ได้ไปหารน้ำหนักตัว 54 / 2.76 = 19.57
4. นำตัวเลข 18.84 มาเทียบกับตาราง ด้านล่าง

17.0-18.4     ผอม
18.5-19.9     สมส่วน
20.0-24.9     น้ำหนักเกิน
25.0-29.9     อ้วน
30.0-39.9     อ้วนอันตราย

ซึ่งค่าดัชนีที่ได้ อยู่ระหว่าง 18.5-19.9 ซึ่งในระดับสมส่วน ร่างกายของเราอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แต่ถ้าเรามีน้ำหนักตัวมากเกินไปก็อาจค่าดัชนีที่ได้จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเราอาจจะมีโรคอื่นๆเกิดตามมาได้เช่น ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือด หัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง อัมพฤต อัมพาต โรคกระดูกและไขข้อ โรคเบาหวาน

ดังนั้น เราควรดูแลตัวเองด้วยการ พยายามควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ (ให้เหมาะสมกับวัย, ลักษณะการใช้ชีวิตและลักษณะการทำงาน) ดื่มน้ำที่ต้มสุกและสะอาด หาเวลาออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ

แล้ว ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) ของคุณคือ เท่าไหร่ ลองคิดดูหรือยัง

* * * * * * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น