วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

การแสดงวิธีทำให้โจทย์คณิตศาสตร์

บทความตอนนี้จะบอกว่าเป็นตอนต่อจากครั้งที่แล้วก็ได้ครับ เพราะอยากจะพูดถึงการเขียนขั้นตอนการคำนวณที่น่าจะมีความถูกต้องกว่ามาก ให้ได้ดูกัน เหตุที่อาจจะนำเสนอเรื่องนี้ก็เพราะว่าได้เห็นวิธีการทำงานของเด็กนักเรียนหลายๆคน จากต่างสถานทีกันแต่มีการแสดงขั้นตอนการทำงานที่แปลกๆ คล้ายๆกัน ในลักษณะที่ผิดวิธีการหรือเขียนขั้นตอนแบบตามใจฉันแต่ได้คำตอบถูก  โดยอยากให้สังเกตจากตัวอย่างต่อไปนี้ครับ






จะเห็นว่า คำตอบที่ได้เดิมกันแต่ความถูกต้องของขั้นตอนต่างกันอย่างๆ
คำถาม แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน ???
คำตอบ ถ้ามองดูแบบผิวเผิน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในเมื่อคำตอบไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วผิดอย่างมาก เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่เน้นการฝึกฝนให้ผู้เรียนคิดและทำงานอย่างมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอน ตามหลักเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ กล่าวคือ ในการแสดงขั้นตอนที่ลักษณะของโจทย์เป็นการเขียนเครื่องหมายเท่ากับ (=) ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบที่ต้องการ เราต้องคำนึงถึง ความเท่ากันของตัวเลขทั้ง 2 ข้างของสมการ โดยอาศัยหลักการ ที่เราเรียกว่า กฎการถ่ายทอด (สมบัติการถ่ายทอด ก็แล้วแต่จะเรียกกันไป) ที่ว่า a = b และ b = c แล้ว a = c เป็นเหตุผลเบื้องหลังของการเขียนขั้นตอนการทำงานแต่ไม่มีใครชี้ให้เด็กเห็นเท่าที่ควร

และที่ผมรู้สึกเป็นห่วงมากที่สุดคือ... การเขียนที่ขั้นตอนที่ดูแปลกของเด็ก ผมคิดว่าน่าจะสะท้อนถึงระบบกระบวนการคิดที่ไม่ดี ถ้าเด็กทำจนติดเป็นนิสัยก็จะทำให้เด็กคิดและทำแบบสับสนไม่เป็นขั้นตอน ส่งผลกับการเรียนและการทำงานต่อไปในอนาคต 

โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยดีใจเลยที่่เด็กตอบคำถามถูกต้อง แต่ไม่สามารถแสดงเหตุผลโดยอ้างอิงถึงหลักการที่ถูกต้องได้ หรือ อธิบายสิ่งที่ทำได้อย่างชัดเจน

และถ้าเด็กที่เป็นอนาคตของชาติของเราเป็นแบบนี้กันมากๆ ต่อไปเราจะไปต่อกันได้อย่างไร...

1 ความคิดเห็น: