ข้อมูลที่ทุกคนจะได้อ่านต่อไปนี้เป็น ข้อมูลที่ผม ได้มาจากเอกสารแจกฟรี ตอนที่ผมไปบริจาคโลหิต ที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์(ถนนตก) อ่านแล้วเห็นว่า น่าสนใจมากเลยนำมาแบ่งให้ทุกคนได้อ่านด้วย
เรื่อง อาหารกับการควบคุมความดัน
คู่มือการดูแลตัวเอง โรคความดันโลหิตสูง
กลุ่มงานอนามัยชุมชน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
อาหารมีส่วนอย่างมากในการควบคุมความดัน การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องความคุมอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมาก ควบคู่ไปกับการควมคุมน้ำหนักตัวให้คงที่อย่าปล่อยให้อ้วน ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การควมคุมอาหาร นอกจากจะช่วยควบคุมความดันไม่ให้สูงขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
อาหารที่ควรรับประทาน
1. อาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มหรือเค็มปนหวาน ผู้ที่มีความดันสูงต้องจำกัดเกลือในอาหารแต่ละวันคือ ความลดความเค็มของอาหารที่มีรสจืด และอย่าเติมเครื่องปรุงใด เช่น น้ำปลา ซ๊อส เกลือ ขณะทานอาหาร
2.เพิ่มการกินผักและผลไม้ทุกมื้อของอาหารเพราะมีกากใยสูง จะเป็นผลให้ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปถูกดูดซึมไปใช้น้อยลง เช่น ส้ม สับปะรด มะละกอ (ยกเว้นผลไม้ที่รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ละมุด ลำใย องุ่น)
3. เลือกกินผลไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง เช่น ปลา เนื้อไก่ เนื้อเป็ด (ไม่ติดหนัง) เนื้อหมู ฯลฯ
4. ประกอบอาหารด้วยการต้ม ตุ๋น นึ่ง ปิ้ง ลวกหรือย่าง แทนการผัดหรือทอดในน้ำมัน หรือต้มในกระทิ เช่น ต้มจืด แกงส้ม แกงเลียง ปลานึ่ง
5. ใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันจากไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง รำข้าว และต้องใช้ปริมาณพอเหมาะ
อาหารที่ควรงด
1. อาหารที่มีเกลือมาก เกลือในที่นี้หมายถึง เกลือโซเดียม ซึ่งจะอยู่ในรูปของเลือแกง(NaCl) ที่มีรสเค็ม แม้ว่าจะไม่มีรสเค็ม แต่อันตรายได้กินเป็นประจำ ได้แก่
อาหารที่แห้งที่มีรสเค็มหรือเค็มปนหวาน เป็น ปลาสลิด ปลามเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม กุนเชียง หมูหยอง ปลาหวาน บ๊วยเค็มหรือบ๊วยหวาน
อาหารที่ใส่เกลือเป็นเครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว ซ๊อส เต้าเจี้ยว น้ำบ๊วย น้ำพริก หรือ เครื่องแกงสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวต่างๆ
อาหารหมักดองหรือแช่อิ่ม เช่น ไตปลา ปลาร้า หนำเลี๊ยบ เต้าหู้ยี้ กะปิ ผักกาดหรือดอกไม้ดอก
อาหารที่มีโซเดียมตามธรรมชาติ เช่น น้ำนม อาหารทะเล น้ำมะเขือเทศ เนื้อสัตว์ และผักบางชนิด เช่น คื่นไช่ ผักขม คะน้า หัวผักกาด
อาหารสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก บะหมี่สำเร็จรูป ซุปก้อน
อาหารบรรจุขวดหรืออาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ผักกาดดองกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลมและอื่นๆ
สารเคมีที่ใช้ปรุงแต่งสีรส เช่น ผงชูรส ผงฟูใส่เค๊กหรือคุ๊กกี้ สารกันบูดในเนยแข็ง สารกันเชื้อราในขนมปัง สารใส่ไอศครีมให้เหนียว
2. อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมาก เพราะจะเพิ่มไขมันในเลือดทำให้หลอดเลือดแข็ง และตีบง่ายนอกจากนั้น จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่
อาหารทอดหรือผัดในน้ำมันมาก เช่น ปาท่องโก๋ ไข่เจียว ทอดมัน ข้าวมันไก่ ผัดซีอิ๊ว หอยทอด
เนื้อสัตว์ติดมันหรือติดหนัง เช่น ขาหมู หมูสามชั้น ปลาสวาย เนื้อ หรือหมูติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ เครื่องในสัตว์
อาหารที่ใส่กะทิ เช่น แกงมัสมั่น ต้มกะทิ แกงคั่งต่างๆ ขนมกวนหรือใส่กะทิ เช่น ตะโก้ วุ้นกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ กล้วยบวชชี
อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก เช่น ลูกอม ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน เหล้า เบียร์
สาระน่ารู้
1. ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ได้รับเกลือโซเดียมมากถึงวันละ 4 ช้อนชาเป็นประจำมีความดันสูงกว่าผู้ที่ได้รับวันละ 1 ช้อนชา และเมื่อลดเกลือในอาหารลง ความดันก็จะลดลงด้วย
2. ผู้ที่ได้รับยาลดความดันพวกยขับปัสสาวะ ถ้ายังกินอาหารที่มีเกลือมาก ความดันจะไม่ลดลงเท่าที่ควร
3. การควมคุมความดันให้ได้ผลแน่นอนนั้น นอกจากจะต้องลดการกินอาหารที่มีเกลือโซเดียมมากแล้ว ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมควบคู่ไปด้วย ลลการกินอาหารที่มีไขมัน แป้ง น้ำตาล และออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
*** จำง่ายๆว่า ***
ออกกำลังกายทุกวัน ไขมันอย่าสน
ฝึกฝนกินผัก(ผลไม้) อย่าหนักของเค็ม
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข่าวดีสำหรับ...กลุ่มชายรักชาย
เรื่องดีๆ ที่อยากให้ช่วยกัน บอกต่อกันครับ
พี่สาวที่ผมรู้จักที่ทำงานในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ถนนตก) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ คลินิกรักษ์เพื่อน เป็นหน่วยงานการตรวจโรคของกลุ่มชายรักชาย โดยเฉพาะ รายละเอียดเพิ่มเติม มีดังนี้ครับ
คลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจ ชาย...รักชาย)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการทุก วันจันทร์ พุธและพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 16.00 – 20.00 น. ณ อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ชั้น 1
บริการของคลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจชายรักชาย)
ให้บริการตรวจ HIV แบบรู้ผลภายในวันที่มาตรวจ
ให้บริการตรวจ คัดกรอง ซิฟิลิส ให้บริการ เป็นมิตร ไม่ตีตรา
ให้บริการแบบ One Stop Service โดบผู้ให้คำปรึกษา คนเดียวกัน ทั้งก่อนและหลังตรวจ
ให้บริการแจกถุงยางอนามัย ฟรี...
ให้บริการตรวจ HIV และ ซิฟิลิส ทุกสิทธิการรักษา ฟรี...
ข้อมูลทั้งหมอ ของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ที่ให้บริการคลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจชายรักชาย)
โรงพยาบาลกลาง คุณเจี๊ยบ 09-4998-6429
โรงพยาบาลตากสิน คุณจิ๋ว 09-4442-3877
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ถนนตก) คุณอ้วน 0-2289-7890
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ คุณจอย 0-2429-3578-81 ต่อ 8521-8522
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ คุณนุช 08-1172-3968
โรงพยาบาลลาดกระบังฯ คุณเจี๊ยบ 08-6995-6364
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คุณจุ 08-1485-5468
โรงพยาบาลสิรินธร คุณรี่ 08-3835-5227, 08-7915-3162
*** เรื่องดีๆ...แบบนี้ทราบแล้วอยากลืมช่วยกันบอกต่อด้วยนะครับ... ***
พี่สาวที่ผมรู้จักที่ทำงานในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ถนนตก) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ คลินิกรักษ์เพื่อน เป็นหน่วยงานการตรวจโรคของกลุ่มชายรักชาย โดยเฉพาะ รายละเอียดเพิ่มเติม มีดังนี้ครับ
คลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจ ชาย...รักชาย)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการทุก วันจันทร์ พุธและพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 16.00 – 20.00 น. ณ อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ชั้น 1
บริการของคลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจชายรักชาย)
ให้บริการตรวจ HIV แบบรู้ผลภายในวันที่มาตรวจ
ให้บริการตรวจ คัดกรอง ซิฟิลิส ให้บริการ เป็นมิตร ไม่ตีตรา
ให้บริการแบบ One Stop Service โดบผู้ให้คำปรึกษา คนเดียวกัน ทั้งก่อนและหลังตรวจ
ให้บริการแจกถุงยางอนามัย ฟรี...
ให้บริการตรวจ HIV และ ซิฟิลิส ทุกสิทธิการรักษา ฟรี...
ข้อมูลทั้งหมอ ของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ที่ให้บริการคลินิกรักษ์เพื่อน (เพื่อนที่เข้าใจชายรักชาย)
โรงพยาบาลกลาง คุณเจี๊ยบ 09-4998-6429
โรงพยาบาลตากสิน คุณจิ๋ว 09-4442-3877
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ถนนตก) คุณอ้วน 0-2289-7890
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ คุณจอย 0-2429-3578-81 ต่อ 8521-8522
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ คุณนุช 08-1172-3968
โรงพยาบาลลาดกระบังฯ คุณเจี๊ยบ 08-6995-6364
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คุณจุ 08-1485-5468
โรงพยาบาลสิรินธร คุณรี่ 08-3835-5227, 08-7915-3162
*** เรื่องดีๆ...แบบนี้ทราบแล้วอยากลืมช่วยกันบอกต่อด้วยนะครับ... ***
ตอบคำถามคุณ Thitiphong
ที่คุณ Thitiphong Nualyaem ถามเป็นโจทย์ที่เราต้องใช้บ่อยๆเพื่อเปรียบเทียบราคาในการเลือกซื้อของ
ร้าน ก ขายน้ำ 1 ขวดใหญ่จุ 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา20.50 บาท ร้าน ข ขายน้ำปลา 1 ขวดกลางจุ 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11 บาท วิธีคิดยังงัยครับ ร้านใหนถูกกว่า ครับ
มีแนวคิดในการแก้ป้ญหา 2 แบบนะครับ
แบบที่1 หาดูว่า ในปริมาตรเท่าๆกัน ร้านไหนถูกกว่า
ร้าน ก ขาย 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 20.50 บาท
ร้าน ก ขาย 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 20.50/750 = 0.02733 บาท
ร้าน ข ขาย 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11 บาท
ร้าน ข ขาย 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11/ 375 = 0.02933บาท
ร้านนาย ก ขายถูกว่า
แบบที่2 หาดูว่า ในราคาเท่าๆกัน ร้านไหนให้ของมากกว่า
ร้าน ก ขาย ในราคา 20.50 บาท 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ก ขาย ในราคา 1 บาท 750/20.50 = 36.5853 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ข ขาย ในราคา 11 บาท 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ข ขาย ในราคา 1 บาท 375/11 = 34.0909 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้านนาย ก ให้ของมากกว่า
ทั้ง 2 วิธีจะพบว่าเรา ร้านนาย ก ขายกว่าถูกกว่าครับ
แต่ถ้าจะดูการคิดคำตอบ ก็น่าจะใช้วิธีแบบที่ 2 นะครับ
ขอบคุณสำหรับคำถามดีๆด้วยครับ
ร้าน ก ขายน้ำ 1 ขวดใหญ่จุ 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา20.50 บาท ร้าน ข ขายน้ำปลา 1 ขวดกลางจุ 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11 บาท วิธีคิดยังงัยครับ ร้านใหนถูกกว่า ครับ
มีแนวคิดในการแก้ป้ญหา 2 แบบนะครับ
แบบที่1 หาดูว่า ในปริมาตรเท่าๆกัน ร้านไหนถูกกว่า
ร้าน ก ขาย 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 20.50 บาท
ร้าน ก ขาย 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 20.50/750 = 0.02733 บาท
ร้าน ข ขาย 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11 บาท
ร้าน ข ขาย 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ราคา 11/ 375 = 0.02933บาท
ร้านนาย ก ขายถูกว่า
แบบที่2 หาดูว่า ในราคาเท่าๆกัน ร้านไหนให้ของมากกว่า
ร้าน ก ขาย ในราคา 20.50 บาท 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ก ขาย ในราคา 1 บาท 750/20.50 = 36.5853 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ข ขาย ในราคา 11 บาท 375 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้าน ข ขาย ในราคา 1 บาท 375/11 = 34.0909 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้านนาย ก ให้ของมากกว่า
ทั้ง 2 วิธีจะพบว่าเรา ร้านนาย ก ขายกว่าถูกกว่าครับ
แต่ถ้าจะดูการคิดคำตอบ ก็น่าจะใช้วิธีแบบที่ 2 นะครับ
ขอบคุณสำหรับคำถามดีๆด้วยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)