วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไม้มงคลของไทย

ผมไปอ่านหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่งในนั่นไปเขียนถึง ต้นไม้มงคลของไทย เป็นเรื่องที่ผมก็กำลังอยากรู้ ก็คิดว่าอีกหลายๆคนก็เหมือนกับผม เลยไปสรุปมาให้ได้อ่านกัน

ไม้มงคล 9 ชนิดของไทย ได้แก่
1. ไม้ชัยพฤกษ์  ใช้ประกอบในพิธีมงคล ทำให้มีโชค เสริมอำนาจ ช่วยให้ชนะศัตรูทั้งปวง
2. ราชพฤกษ์   ใช้ประกอบในพิธีมงคล ปลูกเพื่อเสริมบารมี ช่วยให้มียศศักดิ์สูงขึ้น มีคนยกย่องนับถือ
3. ทองหลาง  สื่อถึง ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ เช่นกันว่าเป็นพันธุ์ไม้ของเทพเจ้า
4. ไผ่สีสุก  มีความหมายถึง ความสุข ทั้งกายและใจ ความจริง
5. กันเกรา  เป็นเครื่องป้องกันอันตราย จากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
6. ทรงบาดาล  เป็นไม้เสริมที่ทำให้กันเกรา มีอำนาจมากขึ้น
7. สัก  มีความหมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ มีเดชานุภาพ มีออำนาจสูง
8. พะยุง  เป็นเครื่องพยุง ฐานะและความศักดิ์ให้คงอยู่อย่างถาวร 
     ปัจจุบันเป็นไม้ที่ถูกลักลอบตัด จนเหลืออยู่น้อยมาก เพราะชาวจีน เชื่อกันว่าเป็นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์และเสริมดวง จึงนิยมไปแกะเป็นรูปเคารพ เช่น เทพเจ้าต่างๆ หรือนำไปทำชุดเก้าอี้ที่มีราคาสูง9. ขนุน  มีความหมายถึง การปลูกไว้เพื่อหนุนนำบุญวาสนา รวมทั้งทรัพย์สินเงินทอง ให้มีผู้คนสนับสนุนเกื้อกูล ไม่ให้ฐานะตกต่ำลง

และขอเพิ่มเติมด้วยสัญลักษณ์แห่งมงคลอื่นๆ

สัญลักษณ์แห่งความมงคล
1. ลูกท้อ เป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย ความสุขสมบูรณ์และความมีอายุยืน
2. ปลาทอง ถือกันว่าปลาทองจะนำความสูข ความร่มเย็น เป็นสัญลักษณ์ของการหมุนเวียนเงินทอง ให้เข้ามาสู่ครอบครัวและกิจการ
3. เลข 9 เป็นเลขแห่งความเป็นมงคล เนื่องจากมีสิ่งพ้องกัน ก้าว ซึ่งหมายถึงความเจริญก้าวหน้า การก้าวไปสู่ความสำเร็จ ความรุ่งเรือง
4. นกกระเรียน ชาวญี่ปุ่นเขื่อกันว่า นกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข ความหวังดี การมีสุขภาพดีและอายุยืน
5. เงื่อนมงคล คือ เชือกแดงที่ถูกนำมาถัก เป็นรูปร่างที่สมมาตร คล้ายเลข 8 ในแนวนอน คล้ายกันสัญลักษณ์ infinity ซึ่งมีความหมายถึงความไม่สิ้นสุด ซึ่งจะนำพาความสุข ความยังยืน ความรักที่มั่งคง และความสำเร็จในชีวิต
6. แมวนามากิ เนะโก หรือแมวนำโชค ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า แมวนำโชคนี้จะ กวักเรียกสิ่งดีๆ โชคลาภ เงินทองมาให้  ในลักษณะเดียวกับ นางกวักของบ้านเรา
7. ส้ม ในภาษาจีนมีเสียงพ้องกับคำว่า โชคลาภ ส้มจึงเป็นสัญลักษณ์ ความมีสิริมงคลและเงินทอง ส้มจึงถูกใช้เพื่อนำไปมอบให้และแลกเปลี่ยนกัน ในเทศกาลวันตรุษจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น